April 1, 2024
ข่าวไอที เทคโนโลยี

Hacker รัสเชีย โจมตี โอลิมปิกเกมส์ 2020 และพยายามทำลายระบบงานที่กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น

Hacker รัสเชีย โจมตี โอลิมปิก

Hacker รัสเชีย โจมตี โอลิมปิก ที่สหราชอาณาจักรได้มีการทำงานร่วมกับประเทศพันธมิตรในการเรียกร้องและต่อต้านการโจมตีทางไซเบอร์ที่อันตรายต่อระบบต่าง ในอนาคต โดยได้อ้างอิงถึงการลาดตระเวนทางไซเบอร์ของหน่วยข่าวกรองทางทหาร GRU ของประเทศรัสเซีย ที่ตรวจพบว่ามี Hacker ของประเทศรัสเซียที่พยายามจะโจมตีระบบงานที่ใช้กับกีฬาโอลิมปิกเกมส์ 2020 ณ กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น ที่จะจัดขึ้นในช่วงเดือนกรกฎาคม-สิงหาคม 2020 แต่ต้องเลื่อนไปเป็นปี 2021 แทน

Hacker รัสเชีย โจมตี โอลิมปิก

Hacker รัสเชีย โจมตี โอลิมปิก เกมส์ 2020 เพราะถูกกีดกันจากการแข่งขันกีฬาครั้งดังกล่าว หรือไม่

เนื่องจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ไปทั่วโลก แต่อย่างไรก็ตามเจ้าหน้าที่ของรัสเซียไม่ได้เปิดเผยลักษณะหรือขอบเขตของการโจมตีทางไซเบอร์ และในขณะเดียวกันกระทรวงยุติธรรมของสหรัฐอเมริกาได้แจ้งข้อหากับเจ้าหน้าที่ GRU ของประเทศรัสเซีย จำนวน 6 คน ในข้อหาโจมตีทางไซเบอร์เช่นกัน โดยมีการตรวจพบว่ากลุ่มดังกล่าวพยายามขัดขวางการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกฤดูหนาวปี 2018 การเลือกตั้งประธานาธิบดีฝรั่งเศสปี 2017 โดยมีการกล่าวว่าไม่มีประเทศใดที่ใช้ความสามารถทางไซเบอร์ของตัวเองในเชิงมุ่งร้ายหรือไร้ความรับผิดชอบได้เท่ากับประเทศรัสเซีย อีกทั้งการโจมตีคอมพิวเตอร์แบบก่อกวนและทำลายล้างมากที่สุดเท่าที่เคยมีมาจากกลุ่มเดียวกัน

Hacker รัสเชีย โจมตี โอลิมปิกเกมส์ 2020

ทั้งนี้รัฐมนตรีต่างประเทศของสหราชอาณาจักรได้กล่าวว่าการโจมตีที่มุ่งเป้าไปยังผู้จัดงาน ผู้สนับสนุน และผู้ให้บริการ โลจิสติกส์ของกีฬาโอลิมปิกและพาราลิมปิก ที่จะจัดขึ้น ณ กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น ซึ่งทั้งสหราชอาณาจักรและสหรัฐอเมริกาพยายามที่จะเพิ่มแรงกดดันต่อ Hacker ชาวรัสเซียมาหลายปีแล้ว โดยมีการเปิดเผยพฤติกรรมของHacker ชาวรัสเซียต่อสาธารณะ และมีคาดหวังว่าข่าวที่เกี่ยวกับHacker ชาวรัสเซียที่มีต่อโอลิมปิกเกมส์จะได้รับการสนับสนุนจากประเทศอื่นๆ เช่นกัน

Hacker รัสเชีย โจมตี โอลิมปิก กรุงโตเกียว

นอกจากนี้ยังได้มีการเปิดเผยถึงความพยายามที่จะโจมตีการจัดงานโอลิมปิกฤดูหนาวปี 2018 ของHacker ชาวรัสเซีย ที่เกิดขึ้นเนื่องจากประเทศรัสเซียถูกกีดกันในการแช่งขันกีฬาครั้งดังกล่าว เพราะการละเมิดกฎเกณฑ์ของการใช้ยาโด๊บ ซึ่งในการจัดงานดังกล่าวมีการตรวจพบว่าผู้ชมบางคนไม่สามารถพิมพ์ตั๋วสำหรับพิธีเปิดได้ โดยทำให้หน้าจอจองตั๋วแสดงว่าเต็มทุกที่นั่ง แต่จริงๆ แล้วยังมีที่นั่งเหลืออยู่ การโจมตีในครั้งนั้นเป็นการเน้นที่พิธีเปิดงานโอลิมปิก โดยเป็นการดำเนินการภายใต้ชื่อต่างๆ เช่น Sandworm, VoodooBear และ Iron Viking และพยายามเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์ของตัวเองโดยใช้การโจมตีแบบสเปียร์ฟิชชิ่ง

ฝากกดติดตามข่าวไอที 2020
ข่าวสารไอทีที่น่าสนใจแนะนำ 3 เทรนด์ เทคโนโลยี E – Commerce เพื่อผลประโยชน์ของสายธุรกิจไม่ควรพลาด..!

Similar Posts