March 30, 2024
เทคโนโลยี

ฟาร์มในอนาคต เทคโนโลยีแหล่งอาหาร ที่ล้ำยุค เพื่อหล่อเลี้ยงชีวิตเพื่อนร่วมโลก

เทคโนโลยีแหล่งอาหาร

                เทคโนโลยีแหล่งอาหาร ท่ามกลางทรัพยากรโลกที่จำกัด ในสภาวะการเปลี่ยนแปลงของดินฟ้าอากาศที่ส่งผลกระทบต่อภาคเกษตรและการเลี้ยงสัตว์  แหล่งอาหารของผู้คนจำนวนมากในแต่ละประเทศ เรื่องแหล่งผลิตอาหารในยุคปัจจุบันจึงเป็นประเด็นที่ท้าทายหลายประเทศทั่วโลก

โจทย์นี้สร้างแรงบันดาลใจให้นักคิดทั้งหลายต่างพัฒนาเทคโนโลยีแหล่งอาหาร เพื่อหล่อเลี้ยงชีวิตเพื่อนร่วมโลก บนฐานความคิดการใช้ทรัพยากรที่มีให้เกิดประโยชน์สูงสุดจากมันสมองของมนุษย์

เทคโนโลยีแหล่งอาหาร

เทคโนโลยีแหล่งอาหาร ที่หลายประเทศกำลังเร่งหาเทคโนโลยีเพื่อสร้างแหล่งอาหาร

 ตัวอย่างเช่น เทคโนโลยีการปลูกพืชในทะเลทรายและปลูกพืชด้วยน้ำทะเล โดยกลุ่มประเทศตะวันออกกลางที่มีพื้นที่จำนวนมากเป็นทะเลทราย ได้แก่ จอร์แดน ซาอุดิอาระเบีย อิสราเอล สหรัฐอาหรับเอมิเรสต์ รวมทั้งจีน ต่างเร่งหาเทคโนโลยีเพื่อสร้างแหล่งอาหาร คือ การเพาะปลูกผักผลไม้รวมทั้งข้าวในทะเลทราย

โดยใช้น้ำทะเลที่ถูกทำให้กลายสภาพเป็นน้ำจืด และออกแบบสถานที่เพาะปลูกเป็นโรงเรือนแบบปิด รวมทั้งใช้เทคโนโลยีการจ่ายน้ำที่มีประสิทธิภาพสูง และพัฒนาพันธุ์พืชให้ปรับตัวได้ดีในสภาพอากาศแบบทะเลทราย ที่น่าทึ่งคือ ไม่เพียงแต่ผลิตเพื่อเลี้ยงคนในประเทศเท่านั้น ยังมุ่งผลิตเพื่อธุรกิจการส่งออกด้วย

เทคโนโลยีแหล่งอาหาร  เนื้อสัตว์

                ในขณะที่บางประเทศซึ่งมีทุนสูงอย่าง สหรัฐอาหรับฯ ยังเลือกใช้วิธีเช่าหรือซื้อพื้นที่เพาะปลูกในต่างประเทศนับแสนไร่ควบคู่ไปด้วย นอกจากนี้ยังเลือกใช้เทคโนโลยีเพื่อสร้างแหล่งอาหารโดยการเพาะปลูกพืชผักจากแนวราบเป็นแนวตั้งแทน ซึ่งทำในอาคารได้ และประหยัดหลายอย่าง ตั้งแต่แรงงาน น้ำ และปุ๋ย ทั้งยังไม่จำเป็นต้องใช้สารเคมี ตัวอย่างที่เห็นผลจริงในสหรัฐอเมริกาคือสามารถเพาะปลูกได้ตลอดปี และให้ผลผลิตสูงกว่าแบบเดิมเกือบสี่ร้อยเท่า  ในขณะที่สิงคโปร์ก็กำลังทำเช่นกัน ถือว่าเทคโนโลยีการปลูกพืชในแนวตั้งมีลู่ทางที่สดใสในชุมชนเมือง    

เทคโนโลยีแหล่งอาหาร ผัก

สุดท้ายที่น่าทึ่งยกกำลังสองในด้านแหล่งอาหารก็คือ เทคโนโลยีการปลูกเนื้อสัตว์ คือการปลูกถ่ายเซลล์เพื่อผลิตเนื้อสัตว์โดยไม่ต้องเลี้ยงตัวเป็นๆ ให้เปลืองที่ เปลืองทุน เพราะว่าสังเคราะห์ขึ้นมาจากห้องทดลองนั่นเอง เทคโนโลยีผลิตอาหารแบบนี้จะร่นระยะเวลาลงทุกขั้นตอน เช่น ใช้เวลาปลูกเนื้อสัตว์เพียงสามสัปดาห์จากเดิมที่ต้องใช้เวลาเลี้ยงวัวในฟาร์มถึงสามปี ล่าสุดมีต้นทุนที่ลดลงจวนจะแข่งขันกับเนื้อสัตว์จริงได้แล้ว (14.5 เหรียญสหรัฐฯต่อ 1 กก.) และเจ้าแรกที่เตรียมทดลองกับเมนูอาหารภัตตาคารในปี 2564 ก็คือ บริษัทแห่งหนึ่งในอิสราเอล      

เป็นข่าวดีสำหรับเด็กๆ ในยุคนี้ที่จะได้บริโภคอาหารจากแหล่งผลิต ซึ่งมีฐานความรู้เป็นส่วนสนับสนุนที่สำคัญ

ข่าวไอทีที่น่าสนใจMicrosoft ได้นำศูนย์ข้อมูลใต้น้ำขึ้นมาตรวจสอบอีกครั้ง

Similar Posts